วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

นครปฐมน่าอยู่


ประวัติความเป็นมา

                        “นครปฐม” เป็นอู่อารยธรรมสำคัญที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า เมืองนครปฐมแต่เดิมนั้นตั้งอยู่ริมทะเล เป็นเมืองเก่าแก่ มีความเจริญรุ่งเรืองมานับตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ และเป็นราชธานีสำคัญในสมัยทวารวดี ในยุคนั้น นครปฐมเป็นแหล่งเผยแพร่อารยธรรมจากประเทศอินเดีย ซึ่งรวมทั้งพุทธศาสนา นครปฐมจึงเป็นศูนย์กลางของความเจริญ มีชนชาติต่างๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้นในเมืองนครปฐม เพราะกระแสน้ำที่ไหลผ่านตัวเมืองเปลี่ยนเส้นทาง ประชาชนจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ริมน้ำ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นชื่อ “เมืองนครไชยศรี” หรือ “ศรีวิชัย” นครปฐมจึงกลายเป็นเมืองร้างมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงยังผนวชได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้นเมื่อได้ครองราชย์ จึงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อให้การเสด็จมานมัสการสะดวกขึ้น                        
                        ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมืองนครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่ารก พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรี มาตั้งที่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณ
                       ครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า โดยโปรดฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย รวมทั้งสร้างสะพานเจริญศรัทธาข้ามคลองเจดีย์บูชาเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟกับองค์พระปฐมเจดีย์ ตลอดจนสร้างพระร่วงโรจนฤทธิ์ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์สวยงามดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อจากเมือง “นครไชยศรี” เป็น  “นครปฐม


สัญลักษณ์ประจำจังหวัด   


ตราประจำจังหวัดนครปฐม
รูปเจดีย์องค์ใหญ่และมีมงกุฎติดอยู่ที่พระปฐมเจดีย์
เจดีย์องค์ใหญ่ หมายถึง องค์พระปฐมเจดีย์ที่พระโสณะและพระอุตระได้สร้างขึ้น
มงกุฎ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงอุปถัมภ์สร้างองค์พระปฐมเจดีย์ต่อเติม 
ให้สูงใหญ่สง่างาม ตามที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบันจังหวัดนครปฐม ใช้อักษรย่อว่า"นฐ" 

คำขวัญประจำจังหวัด


ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี
พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

ข้อเสียของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อเสียของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.วงจรชีวิตของระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่มีวงจรชีวิตค่อนข้างจำกัด อาจจะอธิบายได้ว่า เนื่องจาการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งสภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วยหรือ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริหาร ก็อาจจะต้องเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วย
2.ลงทุนสูง เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง และส่วนมากไม่อาจจะนำไปใช้ได้ทันที แต่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเสียก่อนจึงจะใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
3.ก่อให้เกิดช่องว่าง (Gap) เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดช่องว่างในการรับข่าวสารระหว่างคนจนกับคนรวย

3 ผลกระของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อสังคมมนุษย์
 
     1.การเปลี่ยนแปลงเรื่องความรู้สึกตลอดเวลา มีคนจำนวนไม่น้อยเกิดความรู้สึกว่าสรรพสิ่งเคลื่อนไหวเร็วขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศทีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าด้านโทรคมนาคม ทำให้ระบบเศรษฐกิจเป็นจริงขึ้นมา พรมแดนของประเทศกลายเป็นสิ่งไร้ความหมายการบริการด้านการเงินได้รับแรงเสริมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์อย่างไม่หยุดยั้ง รวมทั้งผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารโดยเฉพาะในสำนักงานทำให้วิธีคิดและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการทำงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง การทำงานไม่จำเป็นต้องอยู่ในสำนักงานตลอดเวลาอีกแล้ว
     2.ผลกระทบด้านการเมืองและการตัดสินใจ เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ละเอียดและปราณีตมากขึ้น ทำให้การตัดสินใจไม่เป็นไปตามค่านิยมแต่จะเป็นการตัดสินใจบนข้อมูลและข้อเท็จจริงพร้อมทั้งความคิดเห็นที่มีการเก็บรวบรวมและมีวิธีการวิเคราะห์ประกอบด้วย ส่วนรูปแบบการเมือง จะได้รับผลกระทบคือ ระบบเผด็จการจะลดน้อยลง เนื่องจากไม่สามารถควบคุมข่าวสารได้ ระบบการสื่อสารที่กระจายอำนาจทำให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้นสามารถติดตามการทำงานของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     3.การเกิดขึ้นของชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ ในอนาคตจะเกิดชุมชนใหม่ที่เรียกว่าชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏขึ้นเมื่อทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ และกลุ่มที่มีความสนใจเหมือนกันจะติดต่อโดยผ่านบริการของสหกรณ์โทรคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถจัดการให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ซึ่งกันและกันได้ และข้อมูลที่นำมาแลกเปลี่ยนกันนี้จะถูกบันทึกไว้และจะเรียกกลับมาใช้อีกเมื่อไหร่ก็ได้
     4.ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แม้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะไม่ได้เป็นตัวการทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยตรง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในเทคโนโลยีต่างๆ และเทคโนโลยีเหล่านั้นเองที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวณหรือจำลองแบบมวลอากาศเพื่อพยากรณ์ทางด้านอุตุนิยมวิทยา การใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อตรวจสอบการบุกรุกทำลายป่าา หรือการใช้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบการแพร่มลพิษในน้ำหรือในอากาศ
      5.ผลกระทบด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบในด้านการศึกษามาก การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ คือ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction-CAI) หรือ เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียน (Computer Assisted Learning-CAL) ซึ่งหมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอนและการเรียนรู้ โดยมีผลทำให้นักเรียน นักศึกษา หรือประชาชนที่อยู่ในที่ห่างไกลสามารถเรียนรู้ได้เช่นเดียวกับคนเมือง นอกจากนี้ยังมีส่วนทำให้อาจารย์มีเวลามากขึ้นที่จะทำการศึกษาวิจัย นำเสนอผลงานใหม่อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ
      6.ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อปัจเจกบุคคล เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเลือกซื้อของ การพักผ่อน การฝาก-ถอนเงิน การรักษาพยาบาล เป็นต้น ซึ่งผลกระทบต่อบุคคลที่สำคัญดังนี้
ผลกระทบที่มีผลต่อสภาวะจิตใจ การที่สภาพแวดล้อมทีการกระตุ้นมากเกินไป ข่าวสารข้อมูลมีมากเกินไป ทางเลือกต่างๆ มีมาก ทำให้เกิดการตัดสินใจของมนุษย์ด้อยประสิทธิภาพลงเมื่ออยู่ในภาวะที่ถูกกระตุ้นมากไป
การย้อนกลับไปสู่ศาสตร์ลี้ลับ เนื่องมาจากการสูญเสียอำนาจควบคุมพลังและศาสตร์ต่างๆ ก้าวไปไกลเกินกว่าที่มนุษย์จะควบคุม มนุษย์จึงเลิกสนใจวิทยาศาสตร์แต่หันมาสนใจศาสตร์ลี้ลับต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
      7.ความเป็นส่วนตัวลดลง ทั้งนี้เนื่องจากประสิทธิภาพของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นส่วนตัวทุกอย่างของมนุษย์ได้
ผลกระทบต่อวิธีคิดมนุษย์ มนุษย์จะสามารถเก็บข้อมูลมากที่สุดในเวลาอันสั้นแล้วทิ้งไป แต่จะนำเอาข้อมูลเพียงเล็กน้อยมาสรุปรวมกันเป็นทัศนะใหม่ จะไม่รับแนวคิดที่ส่งผ่านมาทั้งกระบวนอีกต่อไป
น.ส.ภัทรชาวรรณ  แตงแก้วฟ้า

บทความเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ


บทความเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในยุคโลกาภิวัฒน์ ข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดนที่ทำให้เกิดการพัฒนา หลากหลายทั้งด้านวิชาการ เทคโนโลยี สื่อสารสนเทศ พร้อมกับการเปิดเสรีทางการค้า ซึ่งไทย มีข้อผูกพันกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น WTO, ASEAN, AFTA, EU, APEC หรือ กลุ่ม เศรษฐกิจ อื่น ๆ เช่น สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ รวมทั้งความรับผิดชอบด้านศรษฐกิจ การค้า การตลาด การคุ้มครองผู้บริโภค การแทรกแซงตลาด ราคาสินค้า จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ จะต้องปรับตัว ปรับทัศนคติ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล วางแผนล่วงหน้า อย่างเป็นระบบพร้อมรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยเลือกใช้สื่อสารสนเทศ IT Internet ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต การประกอบธุรกิจ การเรียนรู้ ตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ยังดำเนินต่อไป อย่างไม่หยุดยั้งนี้เอง จึงเป็นความจำเป็นที่เราจะต้องหันมาให้ความสนใจ สร้างความเข้าใจ และหาทางใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ ให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ และสังคมของเราให้มากที่สุด เพื่อที่เราจะสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ในเชิงเศรษฐกิจและในขณะเดียวกันก็สามารถดำรงไว้ และยังสามารถให้ชุมชนโลกได้รู้ถึง ซึ่งความมีเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมประเพณีของสังคมไทยที่มีมาช้านานได้  
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อระบบเศรษฐกิจนั้นคงเป็นที่เห็นเด่นชัด ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของกระบวนการผลิต และการประกอบธุรกรรม โดยจะเห็นได้จากการที่ภาคธุรกิจ มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นภาคการเงิน การธนาคาร ภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น ส่วนผลในทางสังคม เป็นสิ่งที่รัฐต้องเข้ามาดูแล เพื่อที่จะให้ผลจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดในทิศทางที่จะช่วย "ลดช่องว่าง" ระหว่างชุมชนเมืองและชนบท และ "ขยายโอกาส" ให้แก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้รวมถึงโอกาสด้านการศึกษา การสาธารณสุข การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และบริการอื่นๆ ของรัฐ  ในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่วัฒนธรรม เทคโนโลยีสารสนเทศมีคุณลักษณะหลายประการ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการนำมาใช้เป็นสื่อ หรือเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่วัฒนธรรม โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อในรูปแบบอื่น ที่มีการใช้กันมาแต่ดั้งเดิม โดยคุณลักษณะดังกล่าวได้แก่ ความสามารถในการเผยแพร่ และกระจายข้อมูลไปสู่ผู้รับได้ทั่วโลก (borderless) โดยปราศจากซึ่งขีดจำกัดทางภูมิศาสตร์และเวลาความสามารถในการสร้างระบบปฏิสัมพันธ์ (interactive) หรือการโต้ตอบระหว่างผู้ให้และผู้รับข้อมูล หรืออีกนัยหนึ่งคือ การสื่อสารสองทางและประการที่สำคัญคือความคงทนถาวร สะดวกในการค้นคว้า เหมาะกับข้อมูลทางวัฒนธรรม ที่เสี่ยงต่อการสูญหาย
 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเล็งเห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อการเผยแพร่วัฒนธรรมของชาติ จึงได้ทรงมีพระราชดำริให้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ดำเนินโครงการสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติขึ้น ในปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย พ.ศ. ๒๕๓๘ ด้วยปัจจัยดังกล่าว ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถที่จะเข้ามามีบทบาท ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี ก่อนที่จะได้นำเสนอตัวอย่างของโครงการ ที่ได้ใช้ศักยภาพจากเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการเผยแพร่วัฒนธรมของไทย                                                       
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของอินเทอร์เน็ต ที่เหมาะแก่การเผยแพร่ข้อมูลวัฒนธรรมคือ การที่สามารถเข้าถึงผู้คนกว่า ๖๐ ล้านคนทั่วโลก ซึ่งหากนับค่าใช้จ่ายต่อผู้รับ ๑ คน แล้วถือว่าน้อยกว่าการพิมพ์หนังสือมาก ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปศึกษา และเรียนรู้วัฒนธรรมของชนชาติอื่นทั่วโลก โดยผ่านเพียงหน้าจอคอมพิวเตอร์  สิ่งที่สำคัญคือ ความสามารถในการใช้โอกาสจากศักยภาพของเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้อื่นได้รู้จักเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของตน ซึ่งยังมีอยู่ในระดับต่างกัน ชนชาติที่มีความตื่นตัวและเห็นประโยชน์ ก็จะนำข้อมูลของตนมาลงเพื่อเผยแพร่ ทำให้ผู้คนอีกหลายสิบล้านคนทั่วโลก ได้เรียนรู้ถึงความเป็นเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมของชนชาตินั้น และในทางตรงกันข้าม ชนชาติที่ยังขาดความตื่นตัวในเรื่องดังกล่าว ก็จะต้องอยู่ในสภาพที่เป็นแต่ "ผู้รับ" วัฒนธรรมของชาติอื่นไป  นอกจากในเรื่องของวัฒนธรรมแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศยังเข้ามามีบทบาทในเรื่องของการศึกษา คือ โรงเรียนจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบในการจัดการศึกษา โดยจัดให้เป็นรูปแบบการศึกษาเพื่อปวงชนซึ่งหากเราพิจารณาไปที่ องค์ประกอบสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิตที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ สื่อซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้โดยตรงของบุคคลในสังคมดังนั้นการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการสื่อสาร และการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา รวมถึงการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้จึงเป็นเรื่องสำคัญ จะต้องจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่จำกัดอยู่เฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดบริการให้แก่ประชาชนในระดับท้องถิ่นแต่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน  แผนงานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่ง ที่เน้นไปยังพื้นฐานของประเทศ คือ ชุมชนในชนบท โดยนำอินเทอร์เน็ต เข้าสู่ทุกพื้นที่ ด้วยการสร้างเว็บไซต์ระบบรวมที่จะเป็นศูนย์กลางเพื่อการแนะนำแหล่งท่องเที่ยว และสินค้า ไทยทุกตำบลทั่วประเทศ ออกสู่สายตาชาวโลก และนำไปสู่การขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ThaiTambon.com เป็นเว็บไซต์บริการข้อมูลที่น่าสนใจของทุกตำบลในเมืองไทย เพื่อพัฒนาให้ทุกตำบลเจริญและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีทั้งข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการคมนาคม ระบบสาธารณูปโภค ข้อมูลเศรษฐกิจ ข้อมูลทางการเมืองการบริหาร ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรมที่พักและร้านอาหาร จะเห็นได้ว่า การค้าขาย เกิดขึ้นได้จากการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการติดต่อ สินค้าที่นำเสนอขาย เป็นได้ทั้งแบบที่เรียกว่า ออนไลน์แคตตาลอก (Online Catalog) คือแทนที่จะต้องไปพิมพ์เป็นเล่มโตๆ (วิธีที่อาจจะโบราณไปแล้ว) ซึ่งปรับปรุง แก้ไขได้ยากและสิ้นเปลืองมาก แต่หันมาใช้อินเทอร์เน็ตแทน เพราะแพร่ไปได้ทั่วโลก ดูได้ตลอดเวลาการดำเนินการดังกล่าวเพื่อสร้างระบบข้อมูลตำบลให้เข้าสู่อินเตอร์เน็ต โดยข้อมูลด้านต่างๆ ของตำบลจะถูกเก็บเข้าระบบฐานข้อมูล และสร้างเป็นเว็บไซต์ที่เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข และนำเสนอการทำงาน และผลิตภัณฑ์ของชุมชนกลุ่มชน ตลอดไปจนถึงระดับSMEs เป็นการช่วยเหลือให้กับประชาชน                                                       
เครือข่ายการเรียนรู้และประสานงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชน ฝ่ายที่เกี่ยวข้องดูแลงานวิจัยด้านท่องเที่ยวของ สกว. สำนักงานภาค ได้จัดทำเว็บไซต์  http://www.communitytourism.net  ขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูล  ความรู้ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน และข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวตามชุมชนต่าง ๆ  ในเครือข่าย เว็บดังกล่าวจะนำเสนอข้อมูล ความเคลื่อนไหวในแวดวงวิจัยด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นเสมือนสื่อกลาง หรือสะพานเชื่อมอันจะทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างชุมชนที่จัดการท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้น  และยังรวมไปถึงนำเสนอกิจกรรมที่น่าสนใจในแต่ละเดือน  หรือแม้แต่เกร็ดเล็ก ๆ น้อยอย่างการเตรียมความพร้อมก่อนท่องเที่ยวเพื่อที่ว่าเมื่อถึงเวลาเดินทาง นักท่องเที่ยวจะมีความสุข และสนุกกับการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น ณ เวลานี้ สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นพื้นที่ในชุมชนท้องถิ่นกำลังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากขณะเดียวกันภาครัฐเองก็เริ่มหันมาสนใจวิถีการท่องเที่ยวแบบนี้  มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านจัดทำการท่องเที่ยวที่หลากหลายรูปแบบ  อาทิ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ฉะนั้นกระแสการท่องเที่ยวแบบนี้ถือเป็นทางเลือกทางการท่องเที่ยวที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับตัวชุมชนและนักท่องเที่ยว  เทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นเทคโนโลยีเดียวที่มีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ  ดังนั้นจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  เศรษฐกิจ และการเมืองได้อย่างมาก  ปัจจุบันสามารถชมข่าว  ชมรายการทีวี  ที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่าง ๆ ได้ทั่วโลก  เราสามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันทีเราใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่างกัน และติดต่อกับคนได้ทั่วโลก  จึงเป็นที่แน่ชัดว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  สังคม และการเมืองจึงมีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มโลกจึงขึ้นกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

น.ส.ภัทรชาวรรณ  แตงแก้วฟ้า